Mainbord Ram...

Mainbord(เมนบอร์ด)
เมนบอร์ด ซึ่งเป็นแผงวงจรภายในคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อให้วงจรทำงานเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ
...ส่วนประกอบหลักๆคือ ช่องติดตั้งซีพียู(cpu socket) ช่องติดตั้งแรม(Memory Slot) ซิปเซ็ต(Chipset) ไบออส(Bios) แบตเตอรี่ ไบออส(Bios Battery) ขั้วต่อสายจ่ายไฟ(Power Connector) จัมเปอร์กำหนดค่า,ขั้วต่ออุปกรณ์ (IDE) ขั้วต่ออุปกรณ์ (Serial ATA)ขั้วต่ออนุกรมและขั้วต่อขนาน(Serial&Paraller Port) ขั้วต่อคีย์บอร์ดและเมาส์,ขั้วต่อ USB 2.0
..........................................................................
                                 Ram(แรม)
แรม เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ร่วมทำงานกับซีพียู ทำหน้าที่จัดเก็บหรืบันทึกข้อมูลคำสั่งต่างๆที่ใช้ในการประมวลผล และพักข้อมูลชั่วคราว เพื่อส่งต่อให้กับซีพียูนำไปประมวลผล
.........ชนิดของแรม
DDR SDRAM แบบ 184 ขา ตัวชิปใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP ขนาดความยาวของแผง 5.25 นิ้ว มีร่องบาก 1 ร่อง ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ ความจุสูงสุด 1 GB. ต่อแผง 
รุ่นDDR 400 ความถี่ 200 MHz. แบนวิดธ์ 3,200 MB/s
รุ่นDDR 533 ความถี่ 266 MHz. แบนวิดธ์ 4,264 MB/s


DDR2 SDRAM แบบ 240 ขา(4n bits) ตัวชิปใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA (Fine-Pitch ball Grid Arrey) มีตัวต้านทานไฟต่ำกว่าแบบ TSOP ออกแบบให้ตัวชิบมีขนาดเล็กและบางลงได้ มี ODT (On-Pie Termination) ตัวลบสัญญาณรบกวน มีร่องบาก 1ร่อง ใช้แรงดันไฟ 1.8 โวลต์ ความจุสูงสุด 4 GB. ต่อแผง
รุ่นDDR2 533 ความถี่ 266 MHz. แบนวิดธ์ 4,264 MB/s
รุ่นDDR2 667 ความถี่ 333 MHz. แบนวิดธ์ 5,336 MB/s
รุ่นDDR2 800 ความถี่ 400 MHz. แบนวิดธ์ 6,400 MB/s

DDR3 SDRAM แบบ 240 ขา(8n bits) ตัวชิปบรรจุภัณฑ์แบบ FBGA มี ODT มีร่องบาก 1 ร่อง (เหมือนกับDDR2 แต่ไม่สามารถใส่แทนกันได้ เพราะร่องบากไม่ตรงกัน) ใช้แรงดันไฟ 1.5 โวลต์ ความจุสูงสุดต่อแผง 16 GB. ต่อแผง
ร่นDDR3 800 ความถี่ 400 MHz. แบนวิดธ์ 6,400 MB/s
รุ่นDDR3 1066 ความถี่ 533 MHz. แบนวิดธ์ 8,500 MB/s
รุ่นDDR3 1333 ความถี่ 667 MHz. แบนวิดธ์ 10,664 MB/s
รุ่นDDR3 1600 ความถี่ 800 MHz. แบนวิดธ์ 12,800 MB/s
......การทำงานของแรมแบบ Dual-Channel และ Flex Mode
-ทำงานแบบ Dual-Channel คือติดตั้งแรมลง DIMM ในแต่ละ Channel ให้ตรงกันและต้องมีความจุแรมเท่ากัน (ไม่จำเป็นต้องเป็นยี่ห้อเดียวกัน)ซึ่งระบบจะเลือกแรมแผงที่มีความถี่ช้ากว่าทำงาน
-ทำงานแบบ Flex Mode คือติดตั้งแรมลงDIMM ในแต่ละ Channel ให้ตรงกัน(แค่นั้นก็พอ ความจุไม่ต้องเท่ากันก็ได้) ซึ่งระบบจะเลือกแผงแรมที่ต่ำกว่าทำงานในแบบ Dual-Channel ส่วนที่เหลือทำงานในแบบ Single-Channel ซึ่งจะมีอยู่ในชิปเซ็ตของอินเทล ที่สนับสนุนการทำงานได้แก่
X48/X38/P45/P43/G43/Q35/P35/G35/G33/G31/P965/G965/Q96และ5Q963
......................................................................................
                          Chipset (ชิปเซ็ต)
ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักของระบบที่ควบคุมการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ต่างให้ทำงานอย่างราบรื่น ทั้ง ซีพียู หน่วยความจำ ตัวควบคุมฮาร์ดดิสและ พอร์ตต่างๆ จึงเป็นตัวกำหนดขีดสูงสุดของตัวอุปกรณ์เหล่านั้น ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของระบบเป็นอย่างมาก และแยกการทำงานออกเป็น 2 ส่วน คือ
 
-Nortth Bridge ซึ่งจะควบคุมอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูง เช่น ซีพียู หน่วยความจำเคส แรมและ การ์ดจอ เป็นต้น


-South Bridge ซึ่งจะควบคุมอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วต่ำ เช่นIDE/FDD/SATA Controller ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิณ์ก ไบออส คอนเน็คเตอร์ต่างๆ และช่องเสียบการ์ดต่งๆ